วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การอ่านคิด วิเคราะห์ข่าว



หลักการอ่านและพิจารณาข่าว

ความหมายของข่าว



  ข่าว  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน   ๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า   คำบอกเล่าเรื่องราว  ซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือเป็นที่สนใจ, คำบอกกล่าว, คำเล่าลือ  คำว่า  ข่าว
ถ้ามองในแง่ของการสื่อสารข้อมูล  ก็จัดว่าเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่จะต้องมี ผู้ที่ทำให้เกิดข่าว  ผู้ส่งข่าว สื่อกลางที่ใช้ในการส่งข่าว  และผู้รับข่าว  ในระหว่างสงครามข่าวส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลของฝ่ายตนเอง และฝ่ายตรงข้าม

ประเภทของข่าว
ในปัจจุบันเรามีข่าวสารหลากหลายประเภทมากมาย ตามแต่ที่ผู้คนจะต้องการรู้  เช่น
·         ข่าวการเมือง จะเป็นการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง  นักการเมือง  กระบวนการต่างๆ
ทางการเมือง
·         ข่าวสังคม จะเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นที่จับตามองของสังคม  เช่น  กลุ่มไฮโซ
นักธุรกิจ
·         ข่าวเศรษฐกิจ จะเป็นข่าวความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ  การเงิน  ราคาสินค้า  ดัชนีที่ใช้วัด ค่าทางเศรษฐกิจต่างๆ
·         ข่าวอาชญากรรม เป็นข่าวอีกประเภทหนึ่งที่มีคนนิยมอ่านจะเกี่ยวข้องกับ  คดีอาชฌากรรมกต่างๆ การเข้าจับกุมคนร้าย
·         ข่าวบันเทิง เป็นข่าวยอดนิยมของคนไทย เนื่องจากจะเป็นเรื่องราวในวงการบันเทิงของดารา นักร้อง ศิลปิน ผู้ที่เป็นที่ชื่นชอบ รวมถึง เรื่องคาวๆ ของวงการด้วย
·         ข่าวกีฬา เป็นข่าวที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องกีฬาต่างๆ ยิ่งถ้ามีการแข่งขันกีฬาใหญ่ๆ เช่น โอลิมปิก หรือ ฟุตบอลโลก ข่าวเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการอย่างมาก
·         ข่าวการศึกษา  เป็นข่าวเกี่ยวกับวงการการศึกษา  เช่น มหาวิทยาลัย นักเรียนทุน
·         ข่าวสุขภาพ  เป็นข่าวเกี่ยวกับด้านสุขภาพร่างกาย  ความเป็นอยู่  อาหาร
นอกจากนี้ก็ยังมีข่าวบางประเภทที่มีอยู่ในสังคม เช่น ข่าวลือ ซึ่งมักเกิดกรณีที่มีเรื่องที่คลุมเครือ หรือมีเหตุระหองระแหงต่างๆ

http://th.wikipedia.org/wiki
คุณสมบัติของข่าว

ในการพิจารณาคัดเลือกเรื่องราวที่จะนำมาตีพิม
เป็น
ข่าวนั้น นอกจากจะต้องพิจารณาเรื่ององค์ประกอบของข่าวแล้ว ยังต้องพิจารณาด้านคุณภาพของข่าวด้วย ข่าวที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
. มีความถูกต้องครบถ้วน (Accurracy)  ทุกรายละเอียดของข่าวไม่ว่าจะเป็นชื่อแหล่งข่าว ตำแหน่ง  หรือความคิดเห็น จะต้องถูกรายงานอย่างถูกต้องครบถ้วน เป็นข้อเท็จจริง  ไม่ถูกบิดเบือน
. มีความสมดุลและเป็นธรรม (Balance and Fairness) ผู้รายงานข่าวต้องนำเสนอข่าวทุกแง่ทุกมุมอย่างสมดุล เช่น เรื่องที่เสนอความขัดแย้ง  ก็ต้องนำเสนอความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายที่โต้แย้งกันอย่างสมดุลและเป็นธรรม
. มีความเที่ยงตรง  (Objectivity)  รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมาอย่างปราศจากอคติใดๆ ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวของผู้รายงานข่าวเข้าไปในข่าว
. เข้าใจง่าย  กะทัดรัด และชัดเจน (Simplicity, Concise, and Clear)  การรายงานข่าวต้องเข้าใจง่าย  ให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นได้เร็ว  ด้วยประโยคกะทัดรัด  แจ่มแจ้ง
. ความใหม่สดทันต่อเหตุการณ์  (Recentness)  ข่าวที่นำเสนอต้องใหม่  สด   
ทันเหตุการณ์  เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน  หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจึงแข่งขันกันในเรื่องความรวดเร็วของการนำเสนอข่าวให้ถึงมือผู้อ่านเร็วที่สุด
. ข่าวต้องมี ๕W H ได้แก่ Who What Where When Why และ How เพื่ออธิบายว่าใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อใด  ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น  และเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร

โครงสร้างของข่าวและการใช้ภาษา

ข่าวประกอบด้วยส่วนสำคัญ   ส่วน  ซึ่งแต่ละส่วนมีลักษณะการใช้ภาษา  ดังนี้
. พาดหัวข่าว (Headline ) คือ  การนำประเด็นสำคัญของข่าวมาพาดหัวหนังสือพิมพ์ เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง   โดยใช้ตัวอักษรตัวใหญ่กว่าธรรมดา  ใช้เพียงข้อความสั้นๆ แต่สามารถเสนอสาระสำคัญให้แก่ผู้อ่านได้พิจารณาเลือกอ่านรายละเอียดข่าวที่ตนสนใจได้   ทั้งยังสามารถบอกภาพลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ ด้วย
 การพาดหัวข่าวจะต้องใช้ทักษะการเลือกถ้อยคำภาษาอย่างมาก   เพราะต้องดึงดูดความสนใจและกระทบต่อความรู้สึกของผู้อ่านไปพร้อมๆ  กับการใช้ถ้อยคำที่สั้นที่สุดให้สามารถอธิบายเนื้อความข่าวได้มากที่สุด   โดยอาจใช้คำที่รุนแรง   คำแสลง   ภาษาเฉพาะกลุ่ม   ใช้สำนวน   หรือเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ เช่น
ปรับครม.เละ กรลุยสุวัจน์”,
ตื่นทารกประหลาด 3 หัว 2 ขา   เป็นต้น

. ความนำข่าว (Leads)   หรือวรรคนำ คือ  สาระสำคัญของเนื้อหาข่าวที่เขียนโดยย่อเพื่อสร้างความเข้าใจทั่วๆ ไปแก่ผู้อ่าน   แบ่งเป็น
ความนำข่าวแบบสรุป จะต้องตอบคำถาม ๕W H ได้แก่  การเขียนความนำข่าวที่มีเนื้อหาเดียวจะใช้วิธีการนี้  แต่ในกรณีข่าวนั้นๆ  มีหลายเนื้อหา จะใช้วิธีสรุปเรื่องราวของทุกเนื้อหาแล้วนำมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน การเขียนความนำแบบสรุปจะใช้ภาษากระชับรัดกุม ตรงไปตรงมา ใช้คำสั้นแต่มีเนื้อความมาก เข้าใจง่าย
ความนำข่าวแบบภาพพจน์ซึ่งเขียนบรรยายหรือพรรณนาภาพเหตุการณ์ เรื่องราว
ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพความเคลื่อนไหว สภาพการณ์ อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลต่างๆ ในเหตุการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้ง โดยผู้เขียนจะเริ่มจากการเขียนความนำแบบสรุป แล้วเพิ่มคำกริยา  คำช่วยกริยา  คำขยายกริยา  คำขยายวิเศษณ์  เพื่อเพิ่มเติมความเคลื่อนไหวและความรู้สึกเข้าไป ความนำแบบนี้มักใช้กับข่าวที่นำเสนอเหตุการณ์ที่มีความเคลื่อนไหว  เช่น  ข่าวอุบัติเหตุ  ข่าวชุมนุมประท้วง  เป็นต้น
ความนำข่าวแบบอัญพจน์เป็นความนำที่ตัดตอนถ้อยคำของบุคคลสำคัญ   ข้อความในประกาศ แถลงการณ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของข่าวมาเขียนไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถ้อยคำของบุคคลสำคัญ หรือข้อความต่างๆ อย่างแท้จริง โดยไม่เกิดจากการสรุปหรือตีความของผู้เขียนข่าว
ความนำข่าวแบบกระแทกกระทั้นคือ   ความนำที่เริ่มจากความนำแบบสรุป   แล้วเพิ่มคำกริยา คำขยายที่แสดงความหนักแน่นรุนแรง ขึงขังแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน
ความนำข่าวแบบให้ภูมิหลัง  คือ   ความนำข่าวที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นของข่าวที่จะนำเสนอต่อไป   เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ชัดเจนกระจ่างขึ้น
ความนำข่าวแบบเปรียบเทียบหรือแบบขัดแย้ง คือ  ความนำข่าวที่เขียนแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่  ๒ เหตุการณ์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน หรือขัดแย้งกัน และประเด็นดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของเรื่องที่เป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน เช่น ข่าวสงคราม ข่าวอุบัติเหตุ  เป็นต้น
ภาษาที่ใช้ในการเขียนความนำข่าวต้องเขียนด้วยข้อความที่กระชับรัดกุม   เลือกสรรคำ โดยเฉพาะคำกริยา   วิเศษณ์   ที่ทำให้เห็นภาพ  แฝงอารมณ์ความรู้สึก   เลือกใช้คำสั้นๆ   แต่กินความมาก   คล้ายกับพาดหัวข่าว

.  ส่วนเชื่อมความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง  (Neck)  เป็นข้อความสั้นๆ ที่เชื่อมระหว่างความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง เพื่อให้การเขียนข่าวนั้นเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้

.  เนื้อเรื่องหรือเนื้อข่าว (Body) คือส่วนที่อธิบายหรือขยายรายละเอียดของส่วนประกอบอื่นๆ  ข้างต้น  เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องราวและเข้าใจลำดับความสำคัญของเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
๔.๑ การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่เสนอข้อเท็จจริง จะใช้ถ้อยคำกระชับรัดกุม ตรงไปตรงมา เสนอเฉพาะข้อเท็จจริงโดยใช้วิธีบรรยายโวหาร  ระดับภาษาตั้งแต่กึ่งทางการถึงระดับทางการ
๔.๒   การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่แสดงความเคลื่อนไหว  ผู้เขียนต้องสร้างภาพโดยใช้ถ้อยคำพรรณนาให้เห็นภาพเหตุการณ์อย่างชัดเจน   เน้นที่คำกริยา   เพิ่มคำแสดงอารมณ์   ความรู้สึก   ความคิดเห็นของผู้เขียน เข้าไปในรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วย ข้อควรระวังคือ ผู้เขียนไม่ควร  สร้างภาพเกินความจริง
๔.๓  การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่เป็นคำพูด  ข้อความส่วนหนึ่งจะเป็นถ้อยคำที่เป็นความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์หรือแหล่งข่าว   ผู้เขียนจะใช้ถ้อยคำกระชับรัดกุม   ภาษาง่ายๆ   สื่อความหมายตรงไปตรงมา   อาจจะมีถ้อยคำแสดงความรู้สึก   อารมณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์ปรากฏอยู่ด้วย

หลักปฏิบัติในการอ่านคิดวิเคราะห์ข่าว

๑. กำหนดวัตถุประสงค์  การกำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่านเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้ทราบข่าวและความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การเมือง สังคมการศึกษา วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
๒.  อ่านพาดหัวข่าว   เป็นการอ่านกวาดสายตาแบบเร็ว ๆ  เพื่อดูว่าแต่ละหน้ามีข่าวสำคัญ ที่น่าสนใจอะไรบ้าง   ถ้าเราอ่านหนังสือพิมพ์เป็นประจำและติดตามเรื่องบางเรื่อง  ผู้อ่านก็สามารถจะพลิกไปหน้านั้นได้ทันที  การอ่านแบบกวาดสายตาเช่นนี้เป็นการเลือกข่าวที่จะอ่าน  โดยดูจากพาดหัวข่าว
๓.  อ่านข่าวนำ  การอ่านข่าวในหน้าแรกมีความสำคัญมาก   เนื่องจากเป็นย่อหน้าสรุปประเด็นสำคัญของข่าว   ซึ่งจะมีรายละเอียดที่บอกว่า   ใคร   ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร  ทำไม  ในการอ่านพยายามตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
๔. วิเคราะห์ประโยค   ในบางครั้งเราอ่านข่าวไม่เข้าใจ  มีปัญหาสืบเนื่องมาจาก โครงสร้างของประโยคซับซ้อน  วิธีการที่จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น  คือ วิเคราะห์ว่าส่วนใดเป็นประธาน  ส่วนใดเป็นกริยาแท้  ส่วนใดเป็นส่วนขยาย  ถ้าวิเคราะห์โครงสร้างหลักได้ก็จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
           ๕. หาความหมายของศัพท์   ปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง  สำหรับผู้อ่านหนังสือพิมพ์  คือ บางครั้ง อ่านพบคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย  ทำให้เกิดความท้อถอย  คิดว่าอ่านแล้วคงไม่เข้าใจ  ถ้าเป็นคำราชาศัพท์ ผู้อ่านควรเปิดพจนานุกรมและจดคำศัพท์ไว้เพื่อทบทวนความจำ  อย่างไรก็ตามในการอ่านข่าวผู้อ่านควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าวจากแหล่งข่าวหรือสื่ออื่น ๆ ด้วยเพื่อจะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด

                                             (พรทิพย์  ศิริสมบูรณ์เวช  และคณะ. ๒๕๔๘ : ๖๒-๖๕)



วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การอ่านคิดวิเคราะห์



 ความรู้เกี่ยวกับการอ่านคิดวิเคราะห์

ความหมายของการคิดวิเคราะห์


          คำว่า  วิเคราะห์  หมายความว่า  แยกแยะออกเป็นส่วนๆ  เพื่อทำความเข้าใจ  และแลเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ  เหล่านั้น 
          การอ่านวิเคราะห์ต้องอาศัยการใช้ความคิดในการอ่านเอาเรื่องเป็นพื้นฐาน  แล้วจึงใช้ความคิดในระดับสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง  กล่าวคือ 
๑.      ต้องแยกแยะให้ได้ว่าเรื่องที่อ่านนั้นแบ่งออกเป็นส่วนๆ  ได้อย่างไร  ซึ่งการจะแยกแยะได้ต้องเข้าใจวิธีการแยกแยะเสียก่อน
๒.      เคยฝึกฝนจนพอมีทักษะในการแยกแยะ
๓.      ใช้ความคิดพิจารณาว่าส่วนต่างๆ  ที่แยกแยะได้นั้นเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันอย่างไร
กล่าวอย่างสั้นๆ  ได้ว่า  การอ่านวิเคราะห์นั้น  ผู้อ่านไม่เพียงแต่ตั้งคำถามว่าใคร  ทำอะไร   
ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร  เท่านั้น  แต่ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า  ทำไมหรือเพราะเหตุใด  แล้วเป็นอย่างไรหรือน่าจะเป็นอย่างไรด้วย

คุณสมบัติของบุคคลที่เอื้อต่อการวิเคราะห์

๑.      มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์    การคิดวิเคราะห์ที่ดี  ผู้คิดจะต้องมีความรู้
ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องนั้น  เพราะจะช่วยให้กำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์  จำแนก  แจกแจงองค์ประกอบ  จัดหมวดหมู่  ลำดับความสำคัญ  หรือหาสาเหตุของเรื่องราว  เหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน
๒.      ช่างสังเกต  ช่างสงสัย  ช่างซักถาม  เป็นคนชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ 
เพื่อนำไปขบคิด  หรือค้นหาความจริงในเรื่องนั้นๆ  คำถามที่ใช้เกี่ยวกับการวิเคราะห์  คือ  ๕  W ประกอบด้วย  What (อะไร)  When (เมื่อไร)  Why (ทำไม)  Who  (ใคร)  How  (อย่างไร)
๓.      ความสามารถในการตีความ  การตีความเกิดจากการรับรู้ข้อมูลมาทางประสาทสัมผัส 
สมองจะตีความข้อมูล  โดยวิเคราะห์เทียบเคียงกับความทรงจำหรือความรู้เดิมที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
๔.      ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล  การวิเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อพบสิ่งที่มี
ความคลุมเครือ  เกิดข้อสงสัย  ตามมาด้วยคำถาม  ต้องค้นหาคำตอบหรือความน่าจะเป็นว่ามีความเป็นมาอย่างไร  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น  จะส่งผลกระทบอย่างไร  ซึ่งสมองจะพยายามคิดเพื่อหาข้อสรุปความรู้ความเข้าอย่างสมเหตุ
สมผล  
                  
กระบวนการคิดวิเคราะห์
          กระบวนการคิดวิเคราะห์  ประกอบด้วย    ขั้นตอน 
          ขั้นตอนที่    กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์
          เป็นการกำหนดวัตถุสิ่งของ  เรื่องราว  หรือเหตุการณ์ต่างๆ  ขึ้นมาเพื่อเป็นต้นเรื่องที่จะใช้วิเคราะห์  เช่น  พืช  สัตว์  หิน  ดิน  รูปภาพ  บทความ  เรื่องราว  เหตุการณ์หรือสถานการณ์จากข่าว  ของจริง  หรือเทคโนโลยีต่างๆ  เป็นต้น

          ขั้นตอนที่    กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
          เป็นการกำหนดประเด็นข้องสงสัยจากปัญหาของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์  ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นคำถามหรือเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เพื่อค้นหาความจริง  สาเหตุหรือความสำคัญ  เช่น  บทความนี้ต้องการสื่อหรือบอกอะไรที่สำคัญที่สุด

          ขั้นตอนที่    กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์
          เป็นการกำหนดข้อสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้  เช่น  เกณฑ์การจำแนกสิ่งของที่มีความหมายเหมือนกันหรือแตกต่างกัน  หรือขัดแย้งกัน

          ขั้นตอนที่    พิจารณาแยกแยะ
          เป็นการพินิจพิเคราะห์  ทำการแยกแยะ  กระจายสิ่งที่กำหนดให้ออกเป็นส่วนย่อยๆ  โดยอาจใช้เทคนิค    W H  ประกอบด้วย  What (อะไร)  When (เมื่อไร)  Why (ทำไม)  Who  (ใคร)  How  (อย่างไร)

          ขั้นตอนที่    สรุปคำตอบ
          เป็นการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุปเป็นคำตอบปัญหาของสิ่งที่กำหนดให้
                                                                               

                                                                                 (สุวิทย์  มูลคำ. ๒๕๔๗ ๙-๑๙)







                                                                        
                                                       Download  Content
                                          

ตัวอย่าง บทพูดสุนทรพจน์


“ ชาติไทยพัฒนา  ชาวประชาสามัคคี”

          เรียนท่านประธาน  ท่านคณะกรรมการที่เคารพ  และสวัสดีท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน  ดิฉันผู้เข้าแข่งขัน  หมายเลข....... รู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง  ที่ได้มากล่าวสุนทรพจน์  ในหัวข้อ  “ชาติไทยพัฒนา  ชาวประชาสามัคคี” ในวันนี้

“ ถ้าชาติใดมีความพร้อมเพรียงกัน      ในหมู่นั้นก็เจริญเพลิดเพลินผล
          ให้เกิดสุขสมหมายคลายกังวล                  เพราะทุกคนสามัคคีดีต่อกัน”

          ท่านผู้ฟังที่เคารพคะ  จากบทประพันธ์ที่ดิฉันได้กล่าวไปนั้นแสดงให้เห็นว่า  ชาติไทยจะพัฒนาได้ก็ด้วยประชาชนในชาติมีความสามัคคี  ความสามัคคี  คือ  การรวมพลังกัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ทั้งกำลังกาย  กำลังความคิด  กำลังความรู้  สุดแต่ว่าผู้ใดจะมีกำลังอย่างใด  แล้วใช้กำลังความสามารถนั้นด้วยความพร้อมเพรียง  เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  โดยไม่ได้วิวาทบาดหมางกัน
          เมื่อประเทศชาติมีคนพร้อมเพรียงกันเช่นนี้  ย่อมนำไปสู่ความเจริญมั่นคง  เป็นบ่อเกิดแห่งความสุข  ประเทศชาติพัฒนาเทียบเท่านานาอารยประเทศได้  และที่สำคัญจะเป็นสิ่งคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายต่างๆ แต่ทุกท่านทราบไหมคะว่า  เมื่อใดก็ตามที่คนในชาติแตกความสามัคคีกัน   ทั้งในด้านความคิด  คำพูด  และการกระทำ  คิดถึงประโยชน์ส่วนตนยิ่งกว่าประโยชน์ของหมู่คณะแล้วไซร้  ก็จะก่อให้เกิดเป็นความเกลียดชัง  คิดทำลายล้างกัน  และแตกความสามัคคีโดยสมบูรณ์ในที่สุด  เมื่อแตกความสามัคคีแล้ววิกฤตทุกอย่างก็พร้อมใจกันเคลื่อนพลเข้าสู่สังคม แม้กระทั่งประเทศชาติได้อย่างง่ายดาย
          ดังเช่นเมื่อครั้งสุนทรภู่ไปเยี่ยมกรุงเก่า  เห็นสภาพปรักหักพังของเมืองอโยธยาก็อดที่จะบันทึกด้วยความหดหู่ไม่ได้ว่า

                   “กำแพงป้อมขอบคูก็ดูลึก       ไม่น่าอ้ายข้าศึกเข้ามาได้
          ยังปล่อยให้ข้ามเข้าเอาเวียงชัย           โอ้กระไรเหมือนบุรีไม่มีชาย”

          กรุงศรีอยุธยาแตกไม่ใช่เพราะ  ไม่มีทแกล้วทหาร  หากแต่แตกครานั้น  เพราะแตกความสามัคคีกันภายใน
          ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านคะ  ในภาวะสังคมปัจจุบันนี้  ความสามัคคีเป็นสิ่งที่ต้องการเป็นอย่างมากสำหรับคนในชาติ
          องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยอยู่เสมอว่า  ให้รู้รักสามัคคีกัน  คือรู้ว่า  ความสามัคคีก่อให้เกิดความสุขแด่หมู่ชน  และให้รัก

ในความสามัคคี  อันจะทำให้เกิดความพร้อมเพรียงในหมู่คณะ  ความสามัคคีจึงเป็นคุณธรรมสำคัญสำหรับคนในชาติที่จะเป็นเครื่องร้อยรัดให้ทุกคนเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน 

การสร้างความสามัคคีนั้นทำได้ไม่ยากค่ะ  เราจะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ยังเป็นเด็ก  เช่น ในวัยเรียน  คราใดที่ครูเปิดเพลงหรือให้นักเรียนได้ร่วมร้องเพลง  “ สามัคคีชุมนุม”  เวลาทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำให้จิตใจของดิฉันรู้สึกฮึกเหิมและมุ่งมั่นในความสามัคคี  ทำกิจกรรมนั้นด้วยความสามัคคีอย่างเต็มกำลัง
          ทุกท่านคะ  ประเทศไทยเราบรรพบุรุษอุตส่าห์ สร้าง  สืบสาน  ส่งต่อ  และสั่งสมกันมาเป็นเวลานานนี้  ดิฉันมีความเชื่อว่าเราทุกคนรักประเทศชาติ  และต้องการที่จะให้ประเทศชาติของเราเป็นประเทศที่พัฒนาในด้านต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา  สังคมเศรษฐกิจ  การเมือง  และเทคโนโลยี ตลอดจนความสุข  ความศิวิไลซ์  นานาอารยประเทศให้การยอมรับนับถือ 
          ดังนั้น  ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเสริมสร้างความสามัคคี  ปลูกฝังความรักใคร่ในหมู่คณะ  ด้วยหลักการสำคัญ    ประการ  ดังนี้ค่ะ
          ประการที่    ฝึกตนให้สุภาพ  อ่อนน้อม  มีเมตตา
          ประการที่    การประพฤติตนในหลักธรรมจรรยา  อย่างมั่นคง
          ประการที่    ละเว้นการอาฆาต  พยาบาท อวดดื้อถือดี
          ประการที่    ประพฤติสิ่งที่จะปลูกความสามัคคี คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
          ประการที่     ปฏิบัติตนให้เป็นผู้สมควรแก่การรักใคร่  นับถือ  โดยยึดมั่นในศีลธรรม  ความซื่อสัตย์
          ท่านผู้ฟังที่เคารพคะ  เมื่อความสามัคคีเกิดขึ้น  จะทำสิ่งใดก็จักสำเร็จผล  เพราะฉะนั้น  เราจะต้องช่วยกันทำให้คนในชาติมีความรักสามัคคี  เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ความสุข  ความสงบ  และภาพของความศิวิไลซ์วัฒนาสถาพรของชาติ  จักบังเกิดขึ้นแน่นอน....


........สวัสดีค่ะ....

                                             (นางสาวจารุวรรณ    ยืนสุข)
                                        ครูชำนาญการโรงเรียนลืออำนาจวิทยาคม