หลักการอ่านและพิจารณาข่าว
ความหมายของข่าว
ข่าว ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
๒๕๔๒ ให้ความหมายว่า คำบอกเล่าเรื่องราว ซึ่งโดยปรกติมักเป็นเรื่องเกิดใหม่หรือเป็นที่สนใจ, คำบอกกล่าว, คำเล่าลือ คำว่า ข่าว
ถ้ามองในแง่ของการสื่อสารข้อมูล ก็จัดว่าเป็นข้อมูลชนิดหนึ่งที่จะต้องมี
ผู้ที่ทำให้เกิดข่าว ผู้ส่งข่าว
สื่อกลางที่ใช้ในการส่งข่าว และผู้รับข่าว
ในระหว่างสงครามข่าวส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลของฝ่ายตนเอง
และฝ่ายตรงข้าม
ประเภทของข่าว
ในปัจจุบันเรามีข่าวสารหลากหลายประเภทมากมาย
ตามแต่ที่ผู้คนจะต้องการรู้
เช่น
·
ข่าวการเมือง จะเป็นการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง นักการเมือง กระบวนการต่างๆ
ทางการเมือง
·
ข่าวสังคม
จะเป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นที่จับตามองของสังคม เช่น กลุ่มไฮโซ
นักธุรกิจ
·
ข่าวเศรษฐกิจ จะเป็นข่าวความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การเงิน ราคาสินค้า ดัชนีที่ใช้วัด ค่าทางเศรษฐกิจต่างๆ
·
ข่าวอาชญากรรม เป็นข่าวอีกประเภทหนึ่งที่มีคนนิยมอ่านจะเกี่ยวข้องกับ
คดีอาชฌากรรมกต่างๆ
การเข้าจับกุมคนร้าย
·
ข่าวบันเทิง เป็นข่าวยอดนิยมของคนไทย
เนื่องจากจะเป็นเรื่องราวในวงการบันเทิงของดารา
นักร้อง ศิลปิน ผู้ที่เป็นที่ชื่นชอบ รวมถึง เรื่องคาวๆ ของวงการด้วย
·
ข่าวกีฬา เป็นข่าวที่รายงานเกี่ยวกับเรื่องกีฬาต่างๆ
ยิ่งถ้ามีการแข่งขันกีฬาใหญ่ๆ เช่น โอลิมปิก หรือ ฟุตบอลโลก ข่าวเหล่านี้จะเป็นที่ต้องการอย่างมาก
·
ข่าวการศึกษา เป็นข่าวเกี่ยวกับวงการการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัย นักเรียนทุน
·
ข่าวสุขภาพ เป็นข่าวเกี่ยวกับด้านสุขภาพร่างกาย ความเป็นอยู่
อาหาร
นอกจากนี้ก็ยังมีข่าวบางประเภทที่มีอยู่ในสังคม
เช่น ข่าวลือ ซึ่งมักเกิดกรณีที่มีเรื่องที่คลุมเครือ หรือมีเหตุระหองระแหงต่างๆ
http://th.wikipedia.org/wiki
คุณสมบัติของข่าว
ในการพิจารณาคัดเลือกเรื่องราวที่จะนำมาตีพิม
เป็น
ข่าวนั้น
นอกจากจะต้องพิจารณาเรื่ององค์ประกอบของข่าวแล้ว
ยังต้องพิจารณาด้านคุณภาพของข่าวด้วย ข่าวที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้
๑.
มีความถูกต้องครบถ้วน (Accurracy) ทุกรายละเอียดของข่าวไม่ว่าจะเป็นชื่อแหล่งข่าว
ตำแหน่ง หรือความคิดเห็น
จะต้องถูกรายงานอย่างถูกต้องครบถ้วน เป็นข้อเท็จจริง ไม่ถูกบิดเบือน
๒.
มีความสมดุลและเป็นธรรม (Balance and Fairness) ผู้รายงานข่าวต้องนำเสนอข่าวทุกแง่ทุกมุมอย่างสมดุล เช่น
เรื่องที่เสนอความขัดแย้ง ก็ต้องนำเสนอความคิดเห็นของทั้งสองฝ่ายที่โต้แย้งกันอย่างสมดุลและเป็นธรรม
๓.
มีความเที่ยงตรง (Objectivity)
รายงานข่าวอย่างตรงไปตรงมาอย่างปราศจากอคติใดๆ
ไม่สอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวของผู้รายงานข่าวเข้าไปในข่าว
๔.
เข้าใจง่าย กะทัดรัด
และชัดเจน (Simplicity, Concise, and Clear) การรายงานข่าวต้องเข้าใจง่าย ให้ผู้อ่านสามารถจับประเด็นได้เร็ว ด้วยประโยคกะทัดรัด แจ่มแจ้ง
๕.
ความใหม่สดทันต่อเหตุการณ์ (Recentness)
ข่าวที่นำเสนอต้องใหม่ สด
ทันเหตุการณ์ เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
หนังสือพิมพ์แต่ละฉบับจึงแข่งขันกันในเรื่องความรวดเร็วของการนำเสนอข่าวให้ถึงมือผู้อ่านเร็วที่สุด
๖.
ข่าวต้องมี ๕W ๑H ได้แก่
Who What Where When Why และ How เพื่ออธิบายว่าใคร
ทำอะไร ที่ไหน เมื่อใด ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น และเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร
โครงสร้างของข่าวและการใช้ภาษา
ข่าวประกอบด้วยส่วนสำคัญ
๔ ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนมีลักษณะการใช้ภาษา ดังนี้
๑. พาดหัวข่าว (Headline ) คือ การนำประเด็นสำคัญของข่าวมาพาดหัวหนังสือพิมพ์
เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง
โดยใช้ตัวอักษรตัวใหญ่กว่าธรรมดา ใช้เพียงข้อความสั้นๆ
แต่สามารถเสนอสาระสำคัญให้แก่ผู้อ่านได้พิจารณาเลือกอ่านรายละเอียดข่าวที่ตนสนใจได้ ทั้งยังสามารถบอกภาพลักษณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นๆ
ด้วย
การพาดหัวข่าวจะต้องใช้ทักษะการเลือกถ้อยคำภาษาอย่างมาก เพราะต้องดึงดูดความสนใจและกระทบต่อความรู้สึกของผู้อ่านไปพร้อมๆ
กับการใช้ถ้อยคำที่สั้นที่สุดให้สามารถอธิบายเนื้อความข่าวได้มากที่สุด
โดยอาจใช้คำที่รุนแรง คำแสลง
ภาษาเฉพาะกลุ่ม ใช้สำนวน หรือเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆ เช่น
“ปรับครม.เละ ‘กร’ ลุยสุวัจน์”,
“ตื่นทารกประหลาด 3 หัว 2 ขา”
เป็นต้น
๒. ความนำข่าว (Leads) หรือวรรคนำ คือ สาระสำคัญของเนื้อหาข่าวที่เขียนโดยย่อเพื่อสร้างความเข้าใจทั่วๆ
ไปแก่ผู้อ่าน แบ่งเป็น
“ความนำข่าวแบบสรุป”
จะต้องตอบคำถาม ๕W ๑H ได้แก่ การเขียนความนำข่าวที่มีเนื้อหาเดียวจะใช้วิธีการนี้
แต่ในกรณีข่าวนั้นๆ มีหลายเนื้อหา จะใช้วิธีสรุปเรื่องราวของทุกเนื้อหาแล้วนำมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน
การเขียนความนำแบบสรุปจะใช้ภาษากระชับรัดกุม ตรงไปตรงมา
ใช้คำสั้นแต่มีเนื้อความมาก เข้าใจง่าย
“ความนำข่าวแบบภาพพจน์”
ซึ่งเขียนบรรยายหรือพรรณนาภาพเหตุการณ์ เรื่องราว
ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพความเคลื่อนไหว สภาพการณ์ อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลต่างๆ
ในเหตุการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้ง โดยผู้เขียนจะเริ่มจากการเขียนความนำแบบสรุป
แล้วเพิ่มคำกริยา คำช่วยกริยา คำขยายกริยา คำขยายวิเศษณ์ เพื่อเพิ่มเติมความเคลื่อนไหวและความรู้สึกเข้าไป
ความนำแบบนี้มักใช้กับข่าวที่นำเสนอเหตุการณ์ที่มีความเคลื่อนไหว เช่น ข่าวอุบัติเหตุ
ข่าวชุมนุมประท้วง เป็นต้น
“ความนำข่าวแบบอัญพจน์”
เป็นความนำที่ตัดตอนถ้อยคำของบุคคลสำคัญ ข้อความในประกาศ แถลงการณ์
ซึ่งเกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของข่าวมาเขียนไว้ในเครื่องหมายอัญประกาศ
เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถ้อยคำของบุคคลสำคัญ หรือข้อความต่างๆ อย่างแท้จริง
โดยไม่เกิดจากการสรุปหรือตีความของผู้เขียนข่าว
“ความนำข่าวแบบกระแทกกระทั้น”
คือ ความนำที่เริ่มจากความนำแบบสรุป แล้วเพิ่มคำกริยา
คำขยายที่แสดงความหนักแน่นรุนแรง ขึงขังแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างชัดเจน
“ความนำข่าวแบบให้ภูมิหลัง”
คือ ความนำข่าวที่ให้ข้อมูลเบื้องต้นของข่าวที่จะนำเสนอต่อไป เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ชัดเจนกระจ่างขึ้น
“ความนำข่าวแบบเปรียบเทียบหรือแบบขัดแย้ง”
คือ ความนำข่าวที่เขียนแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่
๒ เหตุการณ์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน
หรือขัดแย้งกัน
และประเด็นดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของเรื่องที่เป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน เช่น
ข่าวสงคราม ข่าวอุบัติเหตุ เป็นต้น
ภาษาที่ใช้ในการเขียนความนำข่าวต้องเขียนด้วยข้อความที่กระชับรัดกุม
เลือกสรรคำ โดยเฉพาะคำกริยา วิเศษณ์
ที่ทำให้เห็นภาพ แฝงอารมณ์ความรู้สึก เลือกใช้คำสั้นๆ แต่กินความมาก
คล้ายกับพาดหัวข่าว
๓. ส่วนเชื่อมความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง
(Neck) เป็นข้อความสั้นๆ
ที่เชื่อมระหว่างความนำข่าวกับเนื้อเรื่อง
เพื่อให้การเขียนข่าวนั้นเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้
๔. เนื้อเรื่องหรือเนื้อข่าว
(Body) คือส่วนที่อธิบายหรือขยายรายละเอียดของส่วนประกอบอื่นๆ
ข้างต้น เพื่อให้ผู้อ่านทราบเรื่องราวและเข้าใจลำดับความสำคัญของเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
๔.๑
การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่เสนอข้อเท็จจริง จะใช้ถ้อยคำกระชับรัดกุม ตรงไปตรงมา
เสนอเฉพาะข้อเท็จจริงโดยใช้วิธีบรรยายโวหาร ระดับภาษาตั้งแต่กึ่งทางการถึงระดับทางการ
๔.๒ การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่แสดงความเคลื่อนไหว
ผู้เขียนต้องสร้างภาพโดยใช้ถ้อยคำพรรณนาให้เห็นภาพเหตุการณ์อย่างชัดเจน
เน้นที่คำกริยา เพิ่มคำแสดงอารมณ์ ความรู้สึก
ความคิดเห็นของผู้เขียน
เข้าไปในรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นด้วย ข้อควรระวังคือ ผู้เขียนไม่ควร สร้างภาพเกินความจริง
๔.๓ การเขียนเนื้อเรื่องข่าวที่เป็นคำพูด ข้อความส่วนหนึ่งจะเป็นถ้อยคำที่เป็นความคิดเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์หรือแหล่งข่าว ผู้เขียนจะใช้ถ้อยคำกระชับรัดกุม ภาษาง่ายๆ
สื่อความหมายตรงไปตรงมา อาจจะมีถ้อยคำแสดงความรู้สึก อารมณ์ของผู้ให้สัมภาษณ์ปรากฏอยู่ด้วย
หลักปฏิบัติในการอ่านคิดวิเคราะห์ข่าว
๑. กำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดวัตถุประสงค์ในการอ่านเป็นเรื่องที่สำคัญ
เพื่อให้ทราบข่าวและความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การเมือง สังคมการศึกษา
วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
๒. อ่านพาดหัวข่าว เป็นการอ่านกวาดสายตาแบบเร็ว
ๆ เพื่อดูว่าแต่ละหน้ามีข่าวสำคัญ ที่น่าสนใจอะไรบ้าง
ถ้าเราอ่านหนังสือพิมพ์เป็นประจำและติดตามเรื่องบางเรื่อง
ผู้อ่านก็สามารถจะพลิกไปหน้านั้นได้ทันที การอ่านแบบกวาดสายตาเช่นนี้เป็นการเลือกข่าวที่จะอ่าน
โดยดูจากพาดหัวข่าว
๓. อ่านข่าวนำ การอ่านข่าวในหน้าแรกมีความสำคัญมาก เนื่องจากเป็นย่อหน้าสรุปประเด็นสำคัญของข่าว ซึ่งจะมีรายละเอียดที่บอกว่า ใคร ทำอะไร
ที่ไหน
เมื่อไร อย่างไร ทำไม ในการอ่านพยายามตอบคำถามเหล่านี้ให้ได้
๔.
วิเคราะห์ประโยค ในบางครั้งเราอ่านข่าวไม่เข้าใจ มีปัญหาสืบเนื่องมาจาก
โครงสร้างของประโยคซับซ้อน วิธีการที่จะช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น คือ วิเคราะห์ว่าส่วนใดเป็นประธาน ส่วนใดเป็นกริยาแท้ ส่วนใดเป็นส่วนขยาย ถ้าวิเคราะห์โครงสร้างหลักได้ก็จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
๕. หาความหมายของศัพท์ ปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับผู้อ่านหนังสือพิมพ์ คือ บางครั้ง อ่านพบคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดความท้อถอย คิดว่าอ่านแล้วคงไม่เข้าใจ ถ้าเป็นคำราชาศัพท์ ผู้อ่านควรเปิดพจนานุกรมและจดคำศัพท์ไว้เพื่อทบทวนความจำ อย่างไรก็ตามในการอ่านข่าวผู้อ่านควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าวจากแหล่งข่าวหรือสื่ออื่น ๆ ด้วยเพื่อจะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด
๕. หาความหมายของศัพท์ ปัญหาอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับผู้อ่านหนังสือพิมพ์ คือ บางครั้ง อ่านพบคำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย ทำให้เกิดความท้อถอย คิดว่าอ่านแล้วคงไม่เข้าใจ ถ้าเป็นคำราชาศัพท์ ผู้อ่านควรเปิดพจนานุกรมและจดคำศัพท์ไว้เพื่อทบทวนความจำ อย่างไรก็ตามในการอ่านข่าวผู้อ่านควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงในข่าวจากแหล่งข่าวหรือสื่ออื่น ๆ ด้วยเพื่อจะได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้มากที่สุด
(พรทิพย์ ศิริสมบูรณ์เวช และคณะ. ๒๕๔๘ : ๖๒-๖๕)