วันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การอ่านคิดวิเคราะห์



 ความรู้เกี่ยวกับการอ่านคิดวิเคราะห์

ความหมายของการคิดวิเคราะห์


          คำว่า  วิเคราะห์  หมายความว่า  แยกแยะออกเป็นส่วนๆ  เพื่อทำความเข้าใจ  และแลเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ  เหล่านั้น 
          การอ่านวิเคราะห์ต้องอาศัยการใช้ความคิดในการอ่านเอาเรื่องเป็นพื้นฐาน  แล้วจึงใช้ความคิดในระดับสูงขึ้นอีกขั้นหนึ่ง  กล่าวคือ 
๑.      ต้องแยกแยะให้ได้ว่าเรื่องที่อ่านนั้นแบ่งออกเป็นส่วนๆ  ได้อย่างไร  ซึ่งการจะแยกแยะได้ต้องเข้าใจวิธีการแยกแยะเสียก่อน
๒.      เคยฝึกฝนจนพอมีทักษะในการแยกแยะ
๓.      ใช้ความคิดพิจารณาว่าส่วนต่างๆ  ที่แยกแยะได้นั้นเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันอย่างไร
กล่าวอย่างสั้นๆ  ได้ว่า  การอ่านวิเคราะห์นั้น  ผู้อ่านไม่เพียงแต่ตั้งคำถามว่าใคร  ทำอะไร   
ที่ไหน  เมื่อไร  อย่างไร  เท่านั้น  แต่ต้องตั้งคำถามต่อไปว่า  ทำไมหรือเพราะเหตุใด  แล้วเป็นอย่างไรหรือน่าจะเป็นอย่างไรด้วย

คุณสมบัติของบุคคลที่เอื้อต่อการวิเคราะห์

๑.      มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์    การคิดวิเคราะห์ที่ดี  ผู้คิดจะต้องมีความรู้
ความเข้าใจพื้นฐานในเรื่องนั้น  เพราะจะช่วยให้กำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์  จำแนก  แจกแจงองค์ประกอบ  จัดหมวดหมู่  ลำดับความสำคัญ  หรือหาสาเหตุของเรื่องราว  เหตุการณ์ได้อย่างชัดเจน
๒.      ช่างสังเกต  ช่างสงสัย  ช่างซักถาม  เป็นคนชอบตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ 
เพื่อนำไปขบคิด  หรือค้นหาความจริงในเรื่องนั้นๆ  คำถามที่ใช้เกี่ยวกับการวิเคราะห์  คือ  ๕  W ประกอบด้วย  What (อะไร)  When (เมื่อไร)  Why (ทำไม)  Who  (ใคร)  How  (อย่างไร)
๓.      ความสามารถในการตีความ  การตีความเกิดจากการรับรู้ข้อมูลมาทางประสาทสัมผัส 
สมองจะตีความข้อมูล  โดยวิเคราะห์เทียบเคียงกับความทรงจำหรือความรู้เดิมที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
๔.      ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล  การวิเคราะห์จะเกิดขึ้นเมื่อพบสิ่งที่มี
ความคลุมเครือ  เกิดข้อสงสัย  ตามมาด้วยคำถาม  ต้องค้นหาคำตอบหรือความน่าจะเป็นว่ามีความเป็นมาอย่างไร  เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น  จะส่งผลกระทบอย่างไร  ซึ่งสมองจะพยายามคิดเพื่อหาข้อสรุปความรู้ความเข้าอย่างสมเหตุ
สมผล  
                  
กระบวนการคิดวิเคราะห์
          กระบวนการคิดวิเคราะห์  ประกอบด้วย    ขั้นตอน 
          ขั้นตอนที่    กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์
          เป็นการกำหนดวัตถุสิ่งของ  เรื่องราว  หรือเหตุการณ์ต่างๆ  ขึ้นมาเพื่อเป็นต้นเรื่องที่จะใช้วิเคราะห์  เช่น  พืช  สัตว์  หิน  ดิน  รูปภาพ  บทความ  เรื่องราว  เหตุการณ์หรือสถานการณ์จากข่าว  ของจริง  หรือเทคโนโลยีต่างๆ  เป็นต้น

          ขั้นตอนที่    กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
          เป็นการกำหนดประเด็นข้องสงสัยจากปัญหาของสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์  ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นคำถามหรือเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์เพื่อค้นหาความจริง  สาเหตุหรือความสำคัญ  เช่น  บทความนี้ต้องการสื่อหรือบอกอะไรที่สำคัญที่สุด

          ขั้นตอนที่    กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์
          เป็นการกำหนดข้อสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้  เช่น  เกณฑ์การจำแนกสิ่งของที่มีความหมายเหมือนกันหรือแตกต่างกัน  หรือขัดแย้งกัน

          ขั้นตอนที่    พิจารณาแยกแยะ
          เป็นการพินิจพิเคราะห์  ทำการแยกแยะ  กระจายสิ่งที่กำหนดให้ออกเป็นส่วนย่อยๆ  โดยอาจใช้เทคนิค    W H  ประกอบด้วย  What (อะไร)  When (เมื่อไร)  Why (ทำไม)  Who  (ใคร)  How  (อย่างไร)

          ขั้นตอนที่    สรุปคำตอบ
          เป็นการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุปเป็นคำตอบปัญหาของสิ่งที่กำหนดให้
                                                                               

                                                                                 (สุวิทย์  มูลคำ. ๒๕๔๗ ๙-๑๙)







                                                                        
                                                       Download  Content
                                          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น